สร้างอาชีพเกษตรไทย
อยากให้เกษตรกรไทยได้มีความรู้และหนทางสู่ความสำเร็จ ซึ่งบล๊อคนี้จะรวบรวมอาชีพแต่ละอาชีพไว้ด้วยกันเพื่อให้สะดวกในการศึกษา
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
ทางเดินของชีวิต
จากชุมชนที่เคยใช้สารเคมีจำนวนมาก จนมีสารเคมีตกค้างในเลือด ผ่านการปรับเปลี่ยนทั้งความคิด และพฤติกรรมความเชื่อ หันกลับมาปลูกผักปลอดสารเคมี ทั้งปลูกกินเองในครัวเรือนและปลูกขาย ทำให้มีรายได้ที่สามารถเลี้ยงดูตนเองได้ และยังลดต้นทุนการปลูกผักได้จำนวนมาก แถมคนในชุมชนยังมีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น
วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
วิธีเพาะเห็ด "ขอนขาว"
++ สูตรอาหารสำหรับการเพาะเลี้ยงเห็ดขอนขาว ++
1. ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 กิโลกรัม
2. น้ำตาลทราย 2-3 กิโลกรัม
3. รำ 3-5 กิโลกรัม
4. ปูนขาว 1 กิโลกรัม
5. น้ำ 65-75 ลิตร
++ วิธีการทำ ++
ขั้นตอนที่ 1 การผสมวัสดุเพาะ :
1. ผสมขี้เลื่อยและวัสดุอื่นๆ เข้าด้วยกัน เติมน้ำลงไปให้เป็นฝอย คลุกเคล้าให้เข้ากันดี ตรวจสอบให้มีความชื้นประมาณ 60-65 เปอร์เซ็นต์ โดยการบีบขี้เลื่อยผสมให้แน่นแล้วคลายมือออก ขี้เลื่อยผสมควรจับตัวกันอยู่ได้แต่ไม่ชื้นจนมีหยดน้ำไหลออกมาและไม่แห้งจนขี้เลื่อยผสมแตกร่วนเมื่อคลายมือ
2. บรรจุขี้เลื่อยผสมในถุงพลาสติกทนร้อนประมาณ 900 กรัมต่อถุง แล้วอัดให้แน่นพอประมาณ รวบปากถุง ใส่คอขวดพลาสติก ดึงปากถุงพับลง รัดด้วยยางวง ทำช่องตรงกลางถุงอาหารเจาะด้วยไม้แหลม สวมฝาครอบสำเร็จรูปและฝาปิด ( ซึ่งรองด้วยกระดาษ ) หรือสำลีและปิดทับด้วยกระดาษหรือฝาปิดแบบประหยัด
3.นำถุงอาหารซึ่งเตรียมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไปเรียงในหม้อนึ่งหรือถังนึ่ง ไม่อัดความดันแล้วนึ่งนาน 2-3 ชั่วโมง นับจากน้ำเดือด โดยสังเกตจากไอน้ำที่พุ่งตรงจากรูที่เจาะไว้ที่ฝา แล้วทิ้งให้เย็น
ขั้นตอนที่ 2 การทำก้อน :
1. ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 7X13 นิ้ว หรือ 6 1/2 X12 นิ้ว
2. คอพลาสติกสำเร็จรูป ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง1นิ้ว สูง1นิ้ว พร้อมที่ครอบปิดและมีฝาปิด(ซึ่งรองด้วยกระดาษอีกชั้นหนึ่ง) หรือสำลี หรือฝาปิดแบบประหยัด
3. ยางรัด
4. ตะเกียงแอลกอฮอล์
5. หัวเชื้อเห็ดในเมล็ดข้าวฟ่าง
6. โรงเรือนสำหรับบ่มก้อนเชื้อ พร้อมชั้นวาง
7. โรงเรือนเปิดดอก
6. อุปกรณ์ให้น้ำ เช่น บัวรดน้ำ สายยาง
7. พลั่ว และหม้อนึ่งไม่อัดความดัน (หม้อนึ่งลูกทุ่ง)
1. ผสมขี้เลื่อยและวัสดุอื่นๆ เข้าด้วยกัน เติมน้ำลงไปให้เป็นฝอย คลุกเคล้าให้เข้ากันดี ตรวจสอบให้มีความชื้นประมาณ 60-65 เปอร์เซ็นต์ โดยการบีบขี้เลื่อยผสมให้แน่นแล้วคลายมือออก ขี้เลื่อยผสมควรจับตัวกันอยู่ได้แต่ไม่ชื้นจนมีหยดน้ำไหลออกมาและไม่แห้งจนขี้เลื่อยผสมแตกร่วนเมื่อคลายมือ
2. บรรจุขี้เลื่อยผสมในถุงพลาสติกทนร้อนประมาณ 900 กรัมต่อถุง แล้วอัดให้แน่นพอประมาณ รวบปากถุง ใส่คอขวดพลาสติก ดึงปากถุงพับลง รัดด้วยยางวง ทำช่องตรงกลางถุงอาหารเจาะด้วยไม้แหลม สวมฝาครอบสำเร็จรูปและฝาปิด ( ซึ่งรองด้วยกระดาษ ) หรือสำลีและปิดทับด้วยกระดาษหรือฝาปิดแบบประหยัด
3.นำถุงอาหารซึ่งเตรียมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไปเรียงในหม้อนึ่งหรือถังนึ่ง ไม่อัดความดันแล้วนึ่งนาน 2-3 ชั่วโมง นับจากน้ำเดือด โดยสังเกตจากไอน้ำที่พุ่งตรงจากรูที่เจาะไว้ที่ฝา แล้วทิ้งให้เย็น
ขั้นตอนที่ 2 การทำก้อน :
1. ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 7X13 นิ้ว หรือ 6 1/2 X12 นิ้ว
2. คอพลาสติกสำเร็จรูป ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง1นิ้ว สูง1นิ้ว พร้อมที่ครอบปิดและมีฝาปิด(ซึ่งรองด้วยกระดาษอีกชั้นหนึ่ง) หรือสำลี หรือฝาปิดแบบประหยัด
3. ยางรัด
4. ตะเกียงแอลกอฮอล์
5. หัวเชื้อเห็ดในเมล็ดข้าวฟ่าง
6. โรงเรือนสำหรับบ่มก้อนเชื้อ พร้อมชั้นวาง
7. โรงเรือนเปิดดอก
6. อุปกรณ์ให้น้ำ เช่น บัวรดน้ำ สายยาง
7. พลั่ว และหม้อนึ่งไม่อัดความดัน (หม้อนึ่งลูกทุ่ง)
ขั้นตอนที่ 3 นำก้อนเชื้อเห็ดไปนึ่งฆ่าเชื้อ : โดยนำก้อนไปนึ่ง ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ใช้เวลาในการนึ่งประมาณ 3-4 ชั่วโมง การจับเวลาในการนึ่ง ควรจับหลังจากที่มีไอน้ำพุ่งขึ้นมาเป็นเส้นตรง หลังจากนึ่งเสร็จแล้วปล่อยให้เย็น แล้วนำออกจากหม้อนึ่ง นำเข้าห้องเขี่ยเชื้อ
ขั้นตอนที่ 4 การเขี่ยหัวเชื้อ :
หัวเชื้อเห็ดนั้นจะต้องมีการเขย่าขวดเป็นระยะ และก่อนจะนำมาใช้ 1 คืน ควรจะเขย่าให้เมล็ดข้าวฟ่างกระจายออก ดึงจุกสำลีลนปากขวดหัวเชื้อที่เปลวไฟ เทหัวเชื้อลงในถุงอาหารประมาณถุงละ 20-30 เมล็ด ปิดที่ครอบคอขวดไว้ตามเดิม การหยอดหัวเชื้อต้องทำในที่สะอาดและไม่มีลมพัดผ่าน หได้
ขั้นตอนที่ 5 การบ่มเส้นใย :
หลังเขี่ยเชื้อเห็ดเรียบร้อยแล้วให้ย้ายก้อนเชื้อเห็ดไปไว้ในโรงบ่มหรือโรงเปิดดอก โดยจัดวางก้อนเพาะเห็ดบนชั้น ในแนวตั้งหรือแนวนอนในโรงบ่มเส้นใย ในที่มืดจนเส้นใยเจริญเต็มถุง ใช้เวลาประมาณ 30-45 วัน เมื่อเชื้อเห็ดเดินจนเต็มถุงแล้วก็สามารถเปิดจุกเพื่อเปิดดอกได้ เส้นใยที่เจริญในถุงเพาะเห็ด 1 กิโลกรัม จะใช้เวลา 30-35 วัน จึงจะเต็มถุงเพาะ เมื่อเส้นใยเดินเต็มถุง จำต้องพักบ่มเส้นใยต่อไปจนเส้นใยเริ่มสร้างสปอร์สีน้ำตาล โดยเฉลี่ยจะใช้ระยะเวลาในการบ่มเส้นใยเห็ดขอนขาวประมาณ 80-90 วัน จึงจะนำไปเปิดดอก โรงพักบ่มเส้นใยควรเป็นโรงเรือนที่ร่ม โปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดี อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 28-35 องศาเซลเซียส
ขั้นตอนที่ 4 การเขี่ยหัวเชื้อ :
หัวเชื้อเห็ดนั้นจะต้องมีการเขย่าขวดเป็นระยะ และก่อนจะนำมาใช้ 1 คืน ควรจะเขย่าให้เมล็ดข้าวฟ่างกระจายออก ดึงจุกสำลีลนปากขวดหัวเชื้อที่เปลวไฟ เทหัวเชื้อลงในถุงอาหารประมาณถุงละ 20-30 เมล็ด ปิดที่ครอบคอขวดไว้ตามเดิม การหยอดหัวเชื้อต้องทำในที่สะอาดและไม่มีลมพัดผ่าน หได้
ขั้นตอนที่ 5 การบ่มเส้นใย :
หลังเขี่ยเชื้อเห็ดเรียบร้อยแล้วให้ย้ายก้อนเชื้อเห็ดไปไว้ในโรงบ่มหรือโรงเปิดดอก โดยจัดวางก้อนเพาะเห็ดบนชั้น ในแนวตั้งหรือแนวนอนในโรงบ่มเส้นใย ในที่มืดจนเส้นใยเจริญเต็มถุง ใช้เวลาประมาณ 30-45 วัน เมื่อเชื้อเห็ดเดินจนเต็มถุงแล้วก็สามารถเปิดจุกเพื่อเปิดดอกได้ เส้นใยที่เจริญในถุงเพาะเห็ด 1 กิโลกรัม จะใช้เวลา 30-35 วัน จึงจะเต็มถุงเพาะ เมื่อเส้นใยเดินเต็มถุง จำต้องพักบ่มเส้นใยต่อไปจนเส้นใยเริ่มสร้างสปอร์สีน้ำตาล โดยเฉลี่ยจะใช้ระยะเวลาในการบ่มเส้นใยเห็ดขอนขาวประมาณ 80-90 วัน จึงจะนำไปเปิดดอก โรงพักบ่มเส้นใยควรเป็นโรงเรือนที่ร่ม โปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดี อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 28-35 องศาเซลเซียส
ขั้นตอนที่ 6 การเปิดดอก และ การกระตุ้นให้เห็ดขอนขาวออกดอก :
เห็ดขอนขาวชอบอุณหภูมิสูง ที่ความชื้น 70-80 %จะออกดอกได้ดี และจะมีผลผลิตดีเมื่อมีอากาศแปรปรวนหรืออุณหภูมิกลางวันกับกลางคืนแตกต่างกันมาก ดังนั้นจำต้องกระตุ้น ให้เห็ดออกดอกสม่ำเสมอด้วยการปิดโรงเรือนให้ร้อนในช่วงเทียงถึงบ่าย 3 โมงเย็น โดย อุณหภูมิในโรงเรือนอยู่ระหว่าง 35-37 องศาเซลเซียส แต่ไม่ควรเกิน 40 องศาเซลเซียส เพราะเส้นใยอาจฝ่อและหยุดการเจริญได้ หากอุณหภูมิสูงขึ้นมากเกิน ควรระบายความร้อนออกจากโรงเรือนด้วยการเปิดสปริงเกอร์รดน้ำ ตกกลางคืนจะต้องเปิดโรงเรือน ให้ได้รับความเย็นและอากาศถ่ายเทได้เต็มที่ จะช่วยให้ผลผลิตออกสม่ำเสมอได้
เห็ดขอนขาวชอบอุณหภูมิสูง ที่ความชื้น 70-80 %จะออกดอกได้ดี และจะมีผลผลิตดีเมื่อมีอากาศแปรปรวนหรืออุณหภูมิกลางวันกับกลางคืนแตกต่างกันมาก ดังนั้นจำต้องกระตุ้น ให้เห็ดออกดอกสม่ำเสมอด้วยการปิดโรงเรือนให้ร้อนในช่วงเทียงถึงบ่าย 3 โมงเย็น โดย อุณหภูมิในโรงเรือนอยู่ระหว่าง 35-37 องศาเซลเซียส แต่ไม่ควรเกิน 40 องศาเซลเซียส เพราะเส้นใยอาจฝ่อและหยุดการเจริญได้ หากอุณหภูมิสูงขึ้นมากเกิน ควรระบายความร้อนออกจากโรงเรือนด้วยการเปิดสปริงเกอร์รดน้ำ ตกกลางคืนจะต้องเปิดโรงเรือน ให้ได้รับความเย็นและอากาศถ่ายเทได้เต็มที่ จะช่วยให้ผลผลิตออกสม่ำเสมอได้
++ การดูแลรักษา ++
รดน้ำที่ก้อนเพาะให้ชุ่มแล้วนำผ้าพลาสติกมาคลุมกองชั้นวางก้อนเชื้อเห็ดที่พร้อมจะเปิดดอก ไว้ 2-3 วัน เมื่อเริ่มเห็นตุ่มดอกจึงลดอุณหภูมิในโรงเรือนและระบายอากาศให้ดอกเห็ดเจริญต่อไป การให้ผลผลิตของเห็ดบดแต่ละครั้งจะทิ้งช่วงห่างกัน 15-20 วันในแต่ละรุ่น
++ การเก็บผลผลิต ++
เก็บในระยะที่ดอกเห็ดมีอายุ 2-3 วัน หรือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหมวกเห็ดไม่เกิน 6 เซนติเมตร เป็นขนาดที่มีราคาดีที่สุด ทั้งการบริโภคสดหรือทำแห้งผลผลิตเฉลี่ยของเห็ดบดประมาณ 100-250 กรัมต่อถุง เก็บได้ในระยะเวลา 100-120 วัน การตลาด ราคาของเห็ดมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 6 เซนติเมตร จำหน่ายเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80-100 บาท สามารถจำหน่ายในรูปของดอกเห็ดสดและเห็ดแห้ง และควรเก็บดอกเห็ดในขณะที่ปลายขอบหมวกยังโค้งงอ ลักษณะคล้ายการเก็บดอกเห็ดขอนขาว จะได้ดอกเห็ดที่มีคุณภาพ หวานนุ่ม เหมาะที่จะนำไปผัดหรือซุป หากเก็บดอกแล้วระยะนี้ จะได้ดอกที่เหนียว เคี้ยวยาก เช่น ดอกที่เก็บในธรรมชาติ แต่คนท้องถิ่นพื้นเมือง ก็มีภูมิปัญ ญาท้องถิ่น โดยนำดอกไปฉีก หรือสับ ก่อนปรุงเป็นลาบหรือใส่แกงแค (แกงพื้นเมืองภาคเหนือ) นับเป็นเห็ดที่อร่อยชนิดหนึ่งเลยทีเดียว
รดน้ำที่ก้อนเพาะให้ชุ่มแล้วนำผ้าพลาสติกมาคลุมกองชั้นวางก้อนเชื้อเห็ดที่พร้อมจะเปิดดอก ไว้ 2-3 วัน เมื่อเริ่มเห็นตุ่มดอกจึงลดอุณหภูมิในโรงเรือนและระบายอากาศให้ดอกเห็ดเจริญต่อไป การให้ผลผลิตของเห็ดบดแต่ละครั้งจะทิ้งช่วงห่างกัน 15-20 วันในแต่ละรุ่น
++ การเก็บผลผลิต ++
เก็บในระยะที่ดอกเห็ดมีอายุ 2-3 วัน หรือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหมวกเห็ดไม่เกิน 6 เซนติเมตร เป็นขนาดที่มีราคาดีที่สุด ทั้งการบริโภคสดหรือทำแห้งผลผลิตเฉลี่ยของเห็ดบดประมาณ 100-250 กรัมต่อถุง เก็บได้ในระยะเวลา 100-120 วัน การตลาด ราคาของเห็ดมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 6 เซนติเมตร จำหน่ายเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80-100 บาท สามารถจำหน่ายในรูปของดอกเห็ดสดและเห็ดแห้ง และควรเก็บดอกเห็ดในขณะที่ปลายขอบหมวกยังโค้งงอ ลักษณะคล้ายการเก็บดอกเห็ดขอนขาว จะได้ดอกเห็ดที่มีคุณภาพ หวานนุ่ม เหมาะที่จะนำไปผัดหรือซุป หากเก็บดอกแล้วระยะนี้ จะได้ดอกที่เหนียว เคี้ยวยาก เช่น ดอกที่เก็บในธรรมชาติ แต่คนท้องถิ่นพื้นเมือง ก็มีภูมิปัญ ญาท้องถิ่น โดยนำดอกไปฉีก หรือสับ ก่อนปรุงเป็นลาบหรือใส่แกงแค (แกงพื้นเมืองภาคเหนือ) นับเป็นเห็ดที่อร่อยชนิดหนึ่งเลยทีเดียว
++ คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่สนใจเพาะเห็ดขอนขาว ++
ผู้สนใจเห็ดขอนขาวควรฝึกปฏิบัติและสังเกตเทคนิคให้ดี จึงจะประสบผลสำเร็จในการเพาะ หรืออาจใช้วิธีรดน้ำที่ก้อนเพาะให้ชุ่มแล้วนำผ้า พลาสติกมาคลุมกองไว้ 2-3 วัน เมื่อเริ่มเห็นตุ่มดอกจึงลดอุณหภูมิในโรงเรือนและระบายอากาศให้ดอกเห็ดเจริญต่อไป การให้ผลผลิตของเห็ดบดแต่ละครั้งจะทิ้งช่วงห่างกัน 15-20 วันในแต่ละรุ่น
ผู้สนใจเห็ดขอนขาวควรฝึกปฏิบัติและสังเกตเทคนิคให้ดี จึงจะประสบผลสำเร็จในการเพาะ หรืออาจใช้วิธีรดน้ำที่ก้อนเพาะให้ชุ่มแล้วนำผ้า พลาสติกมาคลุมกองไว้ 2-3 วัน เมื่อเริ่มเห็นตุ่มดอกจึงลดอุณหภูมิในโรงเรือนและระบายอากาศให้ดอกเห็ดเจริญต่อไป การให้ผลผลิตของเห็ดบดแต่ละครั้งจะทิ้งช่วงห่างกัน 15-20 วันในแต่ละรุ่น
หอมแผ่นดิน ตอน...ซบแผ่นดิน
หอมแผ่นดิน ตอน...ซบแผ่นดิน เป็นเรื่องราวของประดิษฐ์ เนตรสว่าง เกษตรกรทำฟาร์มเห็ดขอน อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี
ขอขอบคุณวิดีโอจากรายการ หอมแผ่นดินที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการถ่ายทำวิถีชีวิตของเกษตกรเพื่อเปิดแนวคิดในการทำมาหากิน
การปลูกชะอม
ในการปลูกชะอมจะให้ได้ผลผลิตดีต้องมีการจัดการน้ำให้ดี เพราะถ้าชะอมได้น้ำดี ชะอมจะแตกยอดอ่อนอยู่เสมอ โดยเฉพาะในหน้าฝนจะพบว่าชะออมแตกยอดได้ดีมาก
แต่ขณะที่ชะอมกำลังแตกยอดอ่อนก็ควรมีการเสริมปุ๋ยให้แก่ชะอมด้วยเช่นกัน และควรให้ปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอด้วย โดยเฉพาะปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก และควรให้ประมาณ 15 วันครั้ง ส่วนการให้น้ำควรให้ตามสภาพอากาศ หน้าฝน อาจไม่จำเป็นต้องให้น้ำเลยยกเว้นฝนทิ้งช่วงหลายวัน ส่วนหน้าร้อนต้องให้น้ำทุกวันมิเช่นนั้นชะอมจะให้ยอดน้อย ?ยอดน้อยที่สุดจะเป็นหน้าหนาว" แต่เรามีวิธีบังคับให้ชะอมแตกยอดในหน้าหนาวได้ด้วยการตัดแต่งกิ่ง หรือว่ารูดใบออกให้มาก จากนั้นจึงอัดปุ๋ยและน้ำยอดก็จะแตกออกมามากแต่ไม่เท่ากับการแตกยอดในฤดูฝน
วิธีการปลูกและการดูแล :
ชะอมเป็นพืชพื้นบ้านที่ปลูกง่ายปกติปลูกตรงไหนก็ขึ้นงามดีอยู่แล้วเป็นผักสวนครัวรั้วกินได้ แต่ในการปลูกควรระวังเรื่องน้ำท่วมโคนต้นในฤดูฝน การปลูกในที่ราบลุ่มจำเป็นต้อยกร่องขึ้นมาโดยไม่มีการกำหนกระยะห่างระหว่างร่อง ขอให้สามารถเดินทำงานเดินเก็บยอดได้ก็พอ ส่วนระหว่างต้นปลูกห่างประมาณ 1 ศอกต่อต้นซึ่งก็ต้องเข้าใจด้วยว่า ไม่ได้มีมาตรฐานบังคับแต่อย่างใดใครอยากปลูกห่างแค่ไหนก็คงทำได้ "แต่การปลูกชิดจะทำให้ไม่เปลืองเนื้อที่และหลายๆคนบอกว่า จะทำให้การแตกยอดดี" ท พื้นที่ประมาณ 1 ไร่ หากปลูกตามที่กล่าวแล้วข้างต้นจะได้จำนวนต้นประมาณ 2,000 ต้น/ไร่ นอกจากค่าต้นพันธุ์แล้วในการปลูกชะอมต้นทุนก็ไม่มีอะไรมาก เท่านั้นแหละ เพราะว่านอกนั้นก็ทำเอง อย่างยกร่องก็ค่อยๆ ทำมาคนในครอบครัวก็มาช่วย ไม่ได้จ้าง ตอนปลูกก็ปลูกอยู่ 2 -3 วันจากนั้นก็ไม่ได้ทำอะไรแล้ว คอยรดน้ำ 2 ? 3 วันครั้ง บันทึกลุยทุ่ง ตอน...เทคนิคการปลูกชะอม
ขอขอบคุณวิดีโอจาก รายการบันทึกลุยทุ่ง ที่ได้ให้ความรู้เกี่ยวการปลูกชะอม บล็อคนี้ไม่ได้สร้างขึ้นมาเพื่อผลประโยชน์และผมกำไรแต่อย่างใด แต่เพื่อรวมสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้แก่คนที่ต้องการศึกษาและเพิ่มความรู้ด้านการเกษตรและการเพิ่มรายได้ทางด้านเกษตกร
พุทราสามรส
![]() |
พุทราสามรส |
1.การปลูกในที่ราบลุ่ม ให้ยกร่องปลูกป้องกันน้ำท่วมโดยขุดร่องกว้างประมาณ 4 - 5 เมตร สำหรับการปลูกแถวเดียว 2.ให้ยกร่องตรงกลางกว้าง 7 เมตร สำหรับปลูกแถวคู่ โดยปลูกที่ริมร่องทั้ง 2 ข้างมีร่องน้ำกว้างลึกประมาณ 1 - 2 เมตร
3.เมื่อปลูกแล้วต้องรักษาระดับน้ำในร่องอยู่ต่ำกว่าสันร่องน้ำ
4.การดูแลให้น้ำพุทราสามรส ควรให้น้ำช่วงที่มีการแตกกิ่งออกดอกให้น้ำได้ประมาณ 2 - 4 วัน / ครั้ง
5.พอติดผลอ่อนและโตพอสมควร ให้หยุดการให้น้ำโดยจะเว้นระยะการให้น้ำออกไปเพื่อป้องกันการหลุดร่วงของดอกและผล
6.ต้องมีการดูแลน้ำปุ๋ย และที่สำคัญหากต้นพุทรามีอายุ 1 ปี แล้วให้ตัดแต่งกิ่งออกเพื่อเพิ่มผลผลิต7.การให้น้ำควรให้ควบคู่กับการให้ปุ๋ยทางใบและทางราก - ควรฉีดพ่น ปุ๋ยทางใบในช่วงเช้า - เย็นในเวลาที่อากาศไม่ร้อนเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ใบไหม้และควรฉีดพ่นในขณะที่ลมไม่พัดแรง– และควรใส่ปุ๋ยก่อนออกดอก (จะนิยมให้ปุ๋ยทางใบ)
น้ำหมักบำรุงใบพุทราสามรส และช่วยเพิ่มรสชาติหวาน กรอบ อร่อย
วัตถุดิบ
1. ผักบุ้ง 1 กก.
2. หน่อไม้ 1 กก.
3. หน่อกล้วย 1 กก.
4. น้ำตาลทรายแดงหรือกากน้ำตาล 1 กก. (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
นำพืชสีเขียวดังที่ได้ นำมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆคลุกกับน้ำตาลทรายแดง, หรือกากน้ำตาล โดยคลุกกวนตามเข็มนาฬิกา
ใส่ภาชนะมีฝาปิดทิ้งไว้ 15 วันจะได้น้ำหวานจากพืชสีเขียว กรองเอาน้ำไปใช้
วิธีการใช้ นำมาผสมกับน้ำในอัตรา 1 แก้วน้ำดื่ม ต่อน้ำ 10 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ ในช่วงเช้าเย็น
ประโยชน์ เป็นอาหารเสริม บำรุงใบ เร่งความเจริญเติบโต โดยเฉพาะพืชที่ให้อาหารทางใบ
นำพืชสีเขียวดังที่ได้ นำมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆคลุกกับน้ำตาลทรายแดง, หรือกากน้ำตาล โดยคลุกกวนตามเข็มนาฬิกา
ใส่ภาชนะมีฝาปิดทิ้งไว้ 15 วันจะได้น้ำหวานจากพืชสีเขียว กรองเอาน้ำไปใช้
หอมแผ่นดิน ตอน...เพียงพอใจ
หอมแผ่นดิน ตอน...เพียงพอใจ ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 11 ม.ค. 2558
สวนพุทราสามรสปลอดสารพิษ 4 ไร่ ของ เป็ง ศรีสุข อ.สว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี เกิดขึ้นได้จากการสุขที่เพียงพอใจ
ขอบคุณวิดีโอจาก รายการหอมแผ่นดินที่ให้ความรู้และให้แรงบันดาลใจแก่เกษตรกรไทย
https://www.youtube.com/watch?v=oZmp4qMSyXY
https://www.youtube.com/watch?v=oZmp4qMSyXY
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)